เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

ประวัติสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รู้จัก สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ : สวส

          นับจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 มีฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ นั้น

          สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นส่วนราชการหนึ่ง ในโครงสร้างของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดยปัจจุบันมีผู้อำนวยการดังนี้

    1. ดร.สุวุฒิ ตุ้มทอง (9 กุมภาพันธ์ 2550 - 8 กุมภาพันธ์ 2558)
    2. อาจารย์เอกวิศ สงเคราะห์ (9 กุมภาพันธ์ 2558  - 8 กุมภาพันธ์ 2562)
    3. ดร.เอกชัย เนาวนิช (9 กุมภาพันธ์ 2562 - 7 สิงหาคม 2566)
    4. ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.กฤตย์ตนัย ธารารัตนสุวรรณ (16 สิงหาคม 2566 - ปัจจุบัน)

ภายใต้การกำกับดูแลของ

    1. ผู้ช่วยศาสตรจารย์ยุทธนา หริรักษาพิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (9 กุมภาพันธ์ 2550 - 31 ธันวาคม 2550)
    2. รองศาสตราจารย์ ดร.มัณฑนีย์ เศรษฐภักดี รองอธิการบดีด้านวิชาการ (1 มกราคม 2551 - xxxx)
    3. อาจารย์พงศ์วิทย์ วุฒิวิริยะ รองอธิการบดี (xxxx - xxxx)
    4. ดร.ณรงค์ศักดิ์ แสงป้อม รองอธิการบดี (xxxx - xxxx)
    5. ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.สุวุฒิ ตุ้มทอง รองอธิการบดี (ปัจจุบัน)

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีสำนักงานให้บริการ ดังนี้

ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา (สำนักงานผู้อำนวยการ)

https://arit.rmutsb.ac.th/storage/2011/upload2/images/Huntra.jpgเลขที่ 60 หมู่ 3 ถ.สายเอเซีย (กรุงเทพฯ - นครสวรรค์ ) ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ : 035-709103

          ได้เริ่มมีมาพร้อมกับการก่อตั้งสถาบันคือในปี พ.ศ.2476 ซึ่งเดิมเป็นสถาบันการศึกษาทางสาขาเกษตรกรรม โดยห้องสมุดเริ่มจากที่อ่านหนังสือและพัฒนาเป็นห้องสมุดในเวลาต่อมา โดยที่ยังไม่มีบรรณารักษ์ที่มีความรู้โดยตรงมาปฏิบัติงาน ต่อมาเมื่อได้โอนไปสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวะศึกษา จึงได้รับการจัดตั้งขึ้นมาเป็นแผนกห้องสมุดในสายงานฝ่ายบริการ ประมาณ ปีพ.ศ.2526 ห้องสมุดได้เริ่มมีบรรณารักษ์เข้ามาทำหน้าที่บริหารงานและมีเจ้าหน้าที่ช่วยปฏิบัติงาน ในปีพ.ศ.2540 ห้องสมุดได้ย้ายเป็นอาคารเอกเทศ มีพื้นที่ 2 ชั้น และมีผู้บริหารงานห้องสมุด คือ ผศ.ลัดดา แพภัทรพิสุทธิ์ ซึ่งได้เริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ โดยพัฒนาโปรแกรมห้องสมุดชื่อ Bilangเข้ามาใช้ดำเนินงานห้องสมุด ในปีพ.ศ.2549 ภายหลังจากสถาบันได้มีการรวม 4 พื้นที่เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ห้องสมุดได้ย้ายที่ตั้งอาคารหลังใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศหันตรา อยู่ในสังกัดสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีนายสุวุฒิ ตุ้มทอง เป็นผู้อำนวยการ และผศ.ภสุโชค หยกสหชาติ เป็นหัวหน้าศูนย์

ศูนย์พระนครศรีอยุธยา วาสุกรี

เลขที่ 19 ถ.อู่ทอง ต.ท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ : 0 3532 4179 - 80

          ในอดีตเรียกว่าแผนกห้องสมุด อยู่ภายใต้การบริหารงานของฝ่ายกิจการพิเศษ เดิมอยู่ที่อาคาร 3 ชั้น 2 จากนั้นปีพ.ศ.2538 ได้ย้ายมาที่อาคาร 6 ชั้น 2 และชั้น 3 และเมื่อปี 2546 ได้ย้ายมาที่อาคารวิทยบริการในปัจจุบัน โดยมีรายนามผู้บริหารศูนย์วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศวาสุกรี ได้แก่ ผศ.พิมลพรรณ ธนารักษ์ นางกาญจนา โรจนศิริ และนายวาฤทธิ์ กันแก้ว ตามลำดับ

ศูนย์นนทบุรี

เลขที่ 7/1 ถ.นนทบุรี ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี โทรศัพท์ : 0 2969 1369 - 74

          พ.ศ. 2484 จากโรงเรียนช่างไม้นนทบุรีที่วัดลานนาบุญ ถึงปี พ.ศ.2502 ได้ย้ายมาอยู่ที่หน้าวัดแจ้งสิริสัมพันธ์และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนการช่างนนทบุรี

          พ.ศ.2501 ณ พื้นที่วัดท้ายเมือง ได้ก่อตั้งโรงเรียนช่างกลนนทบุรี โดยมีอาจารย์ปิ่น วิริยาภรณ์ เป็นอาจารย์ใหญ่และมีนางสาววิภา ทองคำเป็นผู้ดูแลห้องหนังสือและตำรา ตราบจนกระทั่ง

          พ.ศ.2518 โดยประกาศกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการให้รวมโรงเรียนการช่างนนทบุรีเข้ากับโรงเรียนช่างกลนนทบุรี และตั้งชื่อใหม่คือ วิทยาลัยเทคนิคนนทบุรี จัดการเรียนการสอนทั้ง 2 เขตคือที่หน้าวัดแจ้งสิริสัมพันธ์และที่วัดท้ายเมือง

          และต่อมาย้ายไปสังกัดกรมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตนนทบุรี โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ดังนี้          
          1. นายสนิท ศรีลิโก
          2. นายชัยสวัสดิ์ เทียนวิบูลย์
          3. นายธำรง โชตะมังสะ โดยมีอาจารย์ชะเงื้อม สุขเมือง และอาจารย์นิเวศน์ สวนานนท์ เป็นผู้ดูแลระบบงานห้องสมุด

          พ.ศ.2531 วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้รับพระราชทานนามใหม่คือ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พร้อมกับวิทยาเขตเทคนิคนนทบุรี ใช้ชื่อว่า วิทยาเขตนนทบุรี โดยห้องสมุดอยู่ในกำกับดูแลของผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการพิเศษคือ นางรุจี จันทร์ขาว

          เรื่องราวที่เกี่ยวกับความเป็นมาของห้องสมุด ไม่มีการจดบันทึกอย่างชัดเจน เป็นแต่เพียงการเล่าเรื่องด้วยวาจา อาทิ สมัยอาจารย์ปิ่น เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนช่างกลนนทบุรี ยังไม่ใช้คำว่าห้องสมุด แต่ใช้คำว่า ห้องหนังสือและตำรา มีผู้ดูแลเป็นผู้หญิงย้ายมาจากช่างกลลพบุรี ชื่อนางสาววิภา ทองคำ แล้วลาออกไปประกอบอาชีพอื่น ต่อมาผู้เล่าเล่าเกี่ยวกับคำที่ใช้แล้วหมายถึงห้องสมุดมีมากมายเช่น ห้องเก็บสมุดตำรา ห้องเก็บหนังสือ ห้องเก็บตำรา ห้องเก็บหนังสือและตำรา จนถึงปี พ.ศ.2516 จึงใช้คำว่า ห้องสมุด และแต่งตั้งอาจารย์ชะเงื้อม สุขเมือง เป็นหัวหน้าห้องสมุดเขตใต้ สำหรับที่เขตเหนือใช้คำว่า ห้องนันทนาการ โดยแต่งตั้งอาจารย์นิเวศน์ สวนานนท์ เป็นหัวหน้า จนกระทั่งถึงสมัย ผศ.ฉัตรชัย เธียรหิรัญ แต่งตั้งอาจารย์อำไพวรรณ ทัพเป็นไทย เป็นหัวหน้างานห้องสมุด แทนอาจารย์ชะเงื้อม สุขเมืองซึ่งเกษียณอายุราชการ ต่อมาได้ยุบรวมห้องสมุดและห้องนันทนาการเข้าด้วยกัน ภายใต้การกำกับดูแลของผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการพิเศษคือ ท่านอาจารย์รุจี จันทร์ขาว และท่านอาจารย์กิติมา หนูสง โดยได้วางรากฐานการบริหารจัดการและการบริการ ตลอดจนพัฒนางานห้องสมุดของวิทยาเขตนนทบุรี (ศูนย์นนทบุรีในปัจจุบัน) ให้มีความเจริญก้าวหน้า

          พัฒนาการห้องสมุดด้านข้อมูลหนังสือ สิ่งตีพิมพ์ ระบบหมวดหมู่ เริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้นตั้งแต่ช่วงอาจารย์ชาญวุฒิ แก่นจันดา เป็นผู้อำนวยการ และอาจารย์ชะเงื้อม สุขเมือง ได้เสนอให้นายสุวุฒิ ตุ้มทอง ให้ไปเข้ารับการอบรมโปรแกรม CDS/ISISซึ่งเป็นโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูลห้องสมุด ณ วิทยาเขตเทเวศร์ และต่อจากนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โปรแกรมฐานข้อมูล Dbase III Pluse สามารถพิมพ์บาร์โค้ดหนังสือ ทำให้งานบริการจ่าย-รับและจัดทำทะเบียนหนังสือได้รับความสะดวกมากขึ้น ต่อมามีการพัฒนาระบบงานห้องสมุดโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาให้มีส่วนเกี่ยวข้องมากขึ้น จนถึงต้นปี พ.ศ.2550 โดยประกาศจัดตั้งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และงานห้องสมุดจึงเข้ามาอยู่ในกำกับเป็นส่วนงานวิทยบริการ โดยมีศูนย์วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศนนทบุรีเป็นหน่วยงานบริการ มีการเชื่อมโยงระบบการบริหารทั้งเขตเหนือเขตและเขตใต้เข้าด้วยกัน พร้อมแต่งตั้ง ผศ.อำไพวรรณ ทัพเป็นไทย ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศนนทบุรี มีสำนักงานตั้งอยู่ที่อาคารวิทยบริการ เขตเหนือ ลักษณะอาคารเป็นแบบอาคาร 5 ชั้น สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547 ถึงวันที่ 12 ตุลาคม 2549 มีพื้นที่ทั้งหมด 4,900 ตารางเมตร โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ด้วยงบประมาณแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2547 จำนวนเงินทั้งสิ้น 37,250,000 บาท(สามสิบเจ็ดล้านสองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
          ออกแบบอาคารโดย อาจารย์คมกริช หมายสุข
          ผู้รับเหมาก่อสร้างโดย บริษัทแองค์โกลเซอร์วิส จำกัด
          ผู้ควบคุมการก่อสร้าง อาจารย์วีระพงษ์ พจนพิมล อาจารย์ณฐพงศ์ จันทร์เพ็ชร อาจารย์กรี แทนแคน
โดยกำหนดพื้นที่ใช้งานแต่ละชั้น ดังนี้
          ชั้นที่ 1 เคาน์เตอร์บริการ ห้องโถง ศูนย์วัฒนธรรม ห้องแสดงนิทรรศการ
          ชั้นที่ 2 กลุ่มหนังสือช่างต่างๆ
          ชั้นที่ 3 ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง กลุ่มหนังสืออ้างอิงและหมวดทั่วไป
          ชั้นที่ 4 ห้องประชุม
          ชั้นที่ 5 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนทางไกล
ปัจจุบันระบบบริหารจัดการระบบห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้นำโปรแกรม WALAI AUTOLIB เข้าใช้ในการบริการ โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ในการพัฒนาระบบร่วมกัน ซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลหนังสือทั้ง 4 ศูนย์เป็นระบบเดียวกัน ตลอดจนพัฒนาการยืม-คืนข้ามศูนย์พื้นที่เพื่อการใช้ทรัพยากรร่วมกันและเชื่อมโยงฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น โครงการพัฒนาเครือข่ายระบบห้องสมุดในประเทศไทยจำนวน 7 ฐานซึ่งประกอบด้วยฐานข้อมูล ABI/INFORM, ACM DigitalLibraly, H.W.Wilson,IEEE/IET Electronic Libraly(IEL) ProQuest DISSERTATION&Theses, SpringerLlink-Jernal และ WebSeience อันจะมีผลก้าวไปสู่มาตรฐานสากลได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป

ศูนย์สุพรรณบุรี

เลขที่ 450 ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ต.ย่านยาว อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี โทรศัพท์ : 0 3554 4301 – 3

          อาคารวิทยบริการ ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2536 โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 43 ล้านบาท ลักษณะของอาคารเป็นอาคาร 5 ชั้นมีพื้นที่รวม 8,000 ตารางเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2538 ได้ทำพิธีเปิดอาคารสถาบันวิทยบริการในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2539 จากนั้นอาคารวิทยบริการได้รับการพัฒนางานด้านต่างๆ ให้พร้อมต่อการให้บริการ โดยเป็นแหล่งค้นคว้าหนังสือพิมพ์ รวมทั้งสื่อสารนิเทศต่างๆ โดยได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินและทางเงินงบประมาณผลประโยชน์ เพื่อการพัฒนาการดำเนินงาน และการให้บริการอย่างต่อเนื่องตลอดจนการก่อสร้างปรับปรุงภายในอาคารเพื่อจัดบริการวิชาการและสื่อเพื่อการศึกษาค้นคว้าเต็มรูปแบบและครบวงจรการก่อสร้างปรับปรุงทั้งหมดได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยในปีงบประมาณ 2541 และสามารถให้บริการได้ครบทุกส่วนงานในปีงบประมาณ 2542 จนกระทั่งในปี 2550 เป็นศูนย์วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศสุพรรณบุรี ภายใต้การบริหารงานของสำนักวิทยบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ







7,319 ครั้ง

Address

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
เลขที่ 60 หมู่ 3 ถ.สายเอเซีย (กรุงเทพฯ - นครสวรรค์ )
ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 โทรศัพท์/โทรสาร : 035-709081

สถิติการเข้าชม
  • วันนี้ : 0 ครั้ง
  • เดือนนี้ : 0 ครั้ง
  • ปีนี้ : 0 ครั้ง
  • ทั้งหมด : 0 ครั้ง
Follow Us

Copyright ©2024 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ